โครงสร้างสายพานลำเลียง

สายพานลำเลียงมีส่วนประกอบหลัก

1. ยางผิวบน ทำหน้าที่ รองรับวัสดุขนถ่าย และป้องกันการเสียหายของชั้นผ้าใบในการรับแรง และยังมีคุณสมบัติปองกันแรงกระแทก ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันน้ำมัน ป้องกันความร้อน ยางผิวบนมีหลายชนิด สามารถเลือกใช้งานตามความ เหมาะสมของวัสดุที่ลำเลียง

2. ชั้นใน ทำหน้าที่ เป็นแกนกลาง ในการรับแรงดึงของสายพาน ทั้งเส้น และช่วยในการกระจายแรงดึงของสายพาน ขณะลำเลียงวัสดุอีกด้วย

3. ชั้นยางประสานผ้าใบหรือชั้นนำกาว : ทำหน้าที่ในการประสานผ้าใบ ของแต่ละชั้นเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน

4. ยางผิวล่าง ทำหน้าที่ ป้องกันชั้นผ้าใบของสายพานเพื่อไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับลูกกลิ้งและพูเล่ย์

สรุป ชั้นผ้านั้นเป็นแกนหลักของสายพาน ทำหน้าที่รับแรงต่างๆ ที่เกิดกับสายพาน ชั้นน้ำกาวที่เคลือบบนชั้นผ้า ทำหน้าที่ยึดติดชั้นผ้าเข้าด้วยกัน และยึดติดชั้นผ้ากับผิวยางชั้นนอก ส่วนผิวยางชั้นนอก ทำหน้าที่ปกป้องชั้นผ้า จากสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน